วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

supply chain strategy

กลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน supply chain strategy

ห่วงโซ่อุปทานหมายถึงการเชื่อมต่อของหน่วยหรือจุดต่างๆในการผลิตสินค้าหรือบริการ ที่เริ่มต้นจากวัตถุดิบไปยังจุดสุดท้ายคือลูกค้า โดยทั่วไปแล้วห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยจุดที่สำคัญๆ คือ

ผู้ส่งมอบ (Suppliers) หมายถึงผู้ที่ส่งวัตถุดิบให้กับโรงงานหรือหน่วยบริการ เช่น เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังหรือปาล์ม โดยที่เกษตรกรเหล่านี้จะนำหัวมันไปส่งโรงงานทำแป้งมันหรือโรงงานทำกลูโคส หรือนำผลปาล์มไปส่งที่โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

โรงงานผู้ผลิต (Manufacturers) หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการแปรสภาพวัตถุดิบที่ได้รับจากผู้ส่งมอบ ให้มีคุณค่าสูงขึ้น

ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Centers) หมายถึงจุดที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งๆ อาจจะมีสินค้าที่มาจากหลายโรงงานการผลิต เช่นศูนย์กระจายสินค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะมีสินค้ามาจากโรงงานที่ต่างๆกัน เช่น โรงงานผลิตยาสระผม, โรงฆ่าสัตว์, เบเกอรี่ เป็นต้น

ร้านค้าย่อยและลูกค้าหรือผู้บริโภค (Retailers or Customers) คือจุดปลายสุดของโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นจุดที่สินค้าหรือบริการต่างๆจะต้องถูกใช้จนหมดมูลค่าและโดยที่ไม่มีการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการนั้นๆ

ห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญอย่างไร?
สินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ผลิตออกสู่ตลาดจะต้องผ่านทุกจุดหรือหน่วยต่างๆ ตลอดทั้งสายของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น จะขึ้นอยู่กับทุกหน่วยมิใช่หน่วยใดหน่วยหนึ่งโดยเฉพาะ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้มีแนวความคิดในการบูรณาการทุกๆ หน่วยเพื่อให้การผลิตสินค้าหรือบริการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามที่ลูกค้าคาดหวัง ดังเช่น น้ำมันปาล์มประกอบอาหาร ในสายของห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยผู้ส่งมอบซึ่งมักจะเป็นเกษตรกรผู้นำผลปาล์มมาส่งให้กับโรงงานหีบเพื่อนำน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์ม ในขั้นตอนต่อไปน้ำมันปาล์มดิบก็จะถูกส่งต่อให้โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มสำหรับใช้ประกอบอาหาร น้ำมันปาล์มประกอบอาหารนี้ก็จะถูกบรรจุในลังกระดาษและถูกส่งออกจากโรงงานและส่งต่อไปยังผู้ประกอบการรายต่อไป เช่น ผู้ดำเนินการซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีกย่อย เพื่อที่จะนำไปวางขายบนชั้นวางของตามซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีกย่อยเพื่อให้ผู้บริโภคได้มาทำการเลือกซื้อสินค้า จากตัวอย่างขั้นต้นจะเห็นว่า ทุกๆจุดในสายของห่วงโซ่อุปทานมีผลต่อคุณภาพของน้ำมันปาล์มประกอบอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อสินค้า

กลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน (The Strategy Importance of the Supply-Chain)
1.1.1 เป้าหมายของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier’s goal)
- Low cost อุปสงค์และอุปทาน พิจารณาจากความเป็นไปได้ที่ต้นทุนต่ำสุด
- Response มีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงในความต้องการเพื่อทำให้เกิดการขนาดแคลนสินค้าน้อยที่สุดอย่างทันเวลา
- Differentiation ร่วมกันวิจัยตลาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างทางเลือกในผลิตภัณฑ์
1.1.2 เกณฑ์ในการคัดเลือก (Primary Selection Criteria)
- Low Cost เลือกจากต้นทุนที่ต่ำ
- Response เลือกจากกำลังการผลิต ความรวดเร็ว และความยืดหยุ่น
- Differentiation เลือกทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.1.3 ลักษณะของกระบวนการ (Process Characteristics)
- Low Cost รักษาระดับอรรถประโยชน์เฉลี่ยในระดับที่สูง
- Response ลงทุนให้เกินกำลังการผลิตและมีกระยวนการที่มีความยืดหยุ่น
- Differentiation กระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน mass customization
1.1.4 ลักษณะของสินค้าคงคลัง (Inventory Characteristics)
- Low Cost ลดสินค้าคงคลังให้ต่ำที่สุด โดยใช้การควบคุมห่วงโซ่อุปทาน
- Response พัฒนาระบบการตอบสนองโดยการกำหนดตำแหน่งใน Buffer Stock เพื่อสร้างหลักประกันในการหาวัตถุดิบ
- Differentiation ลดต้นทุนสินค้าคงคลังเพื่อไม่ให้เกิดสินค้าล้าสมัย
1.1.5 ลักษณะของเวลาในขณะที่รอในการสั่งสินค้า (Lead –time Characteristics)
- Low Cost ระยะเวลาที่รอในการสั่งสินค้าน้อยที่สุด โดยไม่ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
- Response มีการลงทุนเชิงรุก เพื่อลดระยะเวลาที่รอในการสั่งสินค้าเพื่อผลิต
- Differentiation มีการลงทุนเชิงรุกเพื่อลดระยะเวลาที่รอในการสั่งสินค้าเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.1.6 ลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product – Design Characteristics)
- Low Cost ผลการดำเนินงานสูงสุด และใช้ต้นทุนต่ำสุด
- Response ใช้การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้เกิดเวลาในการเตรียมการผลิตที่ต่ำ และมีวิธีการผลิตที่รวดเร็วและรัดกุม
- Differentiation การใช้การออกแบบมาตรฐานเพื่อสร้างความแตกต่างในการเลือกการนำเสนอสินค้าออกสู่ตลาด
ห่วงโซ่อุปทานในการผลิตทั่วโลก (Global Supply-Chain Issues)
- มีความยืดหยุ่นพอสมควร ต่อผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด ในแต่ละส่วนที่มีความเป็นไปได้ การกระจายสินค้า และการขนส่ง
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี การสื่อสาร ในการจัดการ ต่อการส่งสินค้าในแต่ละภาคส่วน ว่ามีการส่งสินค้าออกไปจำนวนเท่าใด
- ใช้ทีมงานที่มีความชำนาญในท้องถิ่น ให้มีส่วนในการจัดการด้านการค้า การบรรทุกสินค้า ภาษีศุลกากร และ ด้านการเมือง

1.2 การจัดซื้อ (Purchasing)
1.2.1 เป็นการจัดหาสินค้าและบริการ
1.2.2 กิจกรรมในการจัดซื้อ
- ช่วยในการตัดสินใจว่าจะผลิตเอง หรือซื้อ
- สามารถระบุ แหล่งผลิตหรือผู้ขายปัจจัยการผลิตได้
- การเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต หรือ การเจรจา ทำสัญญา
- การควบคุม การปฏิบัติของผู้ขายปัจจัยการผลิต
1.2.3 ความสำคัญ
- ต้นทุนเป็นศูนย์กลางหลัก
- ผลกระทบ ต่อคุณภาพของผลผลิตของสินค้า
1.2.4 ต้นทุนของการจัดซื้อ ต่อเปอร์เซ็นต์ของการขาย (Purchasing Costs as a Percent of Sales)

1.2.5 เทคนิคในการจัดซื้อ
- ลดการขนส่งและการบรรจุหีบห่อ (Drop shipping and special packaging)
- สั่งสินค้าหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Blanket order)
- จัดซื้อที่มีใบรายการน้อยที่สุด (Invoice less purposing) - สั่งสินค้า และการเคลื่อนย้ายทุนทางอิเลคทรอนิคส์ (Electronic ordering and funds transfer)
- ใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ (Electronic data interchange: EDI)
- จัดซื้อโดยเก็บสำรองสินค้าให้น้อยที่สุด (Stockless purchasing)
- จัดให้มีมาตรฐานในการจัดซื้อ (Standardization)
1.2.6 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะผลิต หรือซื้อสินค้า (Make/Buy Considerations)
1.2.7 กลยุทธ์ในการจัดซื้อ
- Many Supplies เป็นกลยุทธ์ ในการเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต โดยการต่อรองราคาที่ต่ำที่สุด จากหลายๆ ราย ส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อครั้งแรก
- Few Supplies เป็นกลยุทธ์ ในการติดต่อผู้ขายปัจจัยการผลิต เฉพาะรายที่ได้คัดเลือกไว้แล้ว เป็นการติดต่อในระยะที่ 2 เนื่องจากทราบข้อมูลของผู้ขายปัจจัยการผลิตมาก่อนแล้ว
- Vertical Integration กลยุทธ์การรวมในแนวดิ่ง เป็นการเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต ที่จะร่วมเป็นพันธมิตร หรือควบรวมกิจการทางการค้า หรืออาจสั่งเป็นเจ้าประจำก็ได้
- Keiretsu Network เป็นการชวนผู้ขายปัจจัยการผลิต มาเป็นพันธมิตรทางการค้าร่วมกัน เช่น แลกหุ้นส่วน แต่อย่าให้มากเกิน 5%
- Virtual Companies เป็นกลยุทธ์โดยการใช้ภาพเสมือนทางการค้า ได้แก่ การค้าทางอิเลคทรอนิคส์ เช่น การประมูลงานทางอิเลคทรอนิคส์ (E–option) , การพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์ (E-Commerce)

1.3 การเลือกผู้ขาย (Vendor Selection)
1.3.1 ขั้นตอนในการคัดเลือกผู้ขาย
- การประเมินผู้ขาย Vendor Evaluation เป็นกลยุทธ์โดยใช้วิธีการประเมินผู้ขายปัจจัยการผลิต เช่น เงินทุน ความมั่นคง เพื่อให้แน่ใจว่า เขาสามารถส่งสินค้าได้ตามจำนวน และตรงเวลา เพื่อช่วยในการระบุ หรือเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต
- การพัฒนาผู้ขาย Vendor Development พัฒนาผู้ขายปัจจัยการผลิต ให้สามารถผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์
- การเจรจาต่อรอง Negotiations การต่อรองราคาของวัตถุดิบ ให้ได้ราคาต่ำ แต่มีคุณภาพ เช่น ใช้การซื้อจำนวนมาก เพื่อให้สามารถต่อรองราคาให้ต่ำลงได้
1.3.2 เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier Selection Criteria)
- จากการดำเนินกิจการ เช่น ความมั่นคงทางการเงิน การบริหารจัดการ ที่ตั้งใกล้แหล่งการผลิต เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพ ราคาต่ำ
- การบริการ ทันเวลา มีเงื่อนไขพิเศษในการส่งมอบ มีฝ่ายเทคนิคมาดูแล มีการอบรมพนักงานให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.3 กลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง
- แบบจำลองราคาโดยใช้ฐานจากต้นทุน
- แบบจำลองราคาโดยใช้ฐานจากราคาตลาด
- การเสนอราคาจากการแข่งขัน
1.4 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Management the Supply-Chain) จัดให้มีการวางแผน การจัดองค์กร การปฏิบัติ และการควบคุม เกี่ยวกับวัตถุดิบ โดยเริ่มจากวัตถุดิบ ไปสิ้นสุดที่การกระจายสินค้าและบริการ
1.5 การจัดการวัตถุดิบ (Materials Management)
1.5.1 หน้าที่ในการจัดการวัตถุดิบ
- การจัดซื้อ (Purchasing)
- การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory management)
- การควบคุมการผลิต (Production control)
- โกดังและร้านค้า (Warehousing and store)
- การควบคุมคุณภาพ (Incoming quantity control)
1.5.2 วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และการจัดการให้ได้ต้นทุนต่ำ
1.5.3 การเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Movement Options)
- รถบรรทุก (Trucking)
- รถไฟ (Railways)
- ทางอากาศ (Airway)
- ทางน้ำ (Waterways)
- ทางท่อ (Pipelines)

1.6 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน เชิงเปรียบเทียบ (Benchmarking Supply-Chain Management )