วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

5 ขั้นแห่งความสำเร็จในการดำเินินธุรกิจในเศรษฐกิจใหม่

ห้าขั้นตอนแห่งความสำเร็จในการดำเินินธุรกิจในเศรษฐกิจใหม่


ภาวะถดถอยของธุรกิจโลกในปัจจุบัน ไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะระบบเศรษฐกิจใหม่กลายเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจ
ทั่วโลก ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

หากท่านต้องการให้ธุรกิจที่ดำเนินอยู่เจริญเติบโตในโลกแห่งเศรษฐกิจใหม่เช่นนี้ เราขอเสนอห้าขั้นตอนง่าย ๆ สู่ความสำเร็จ
เดินหน้าเข้าหาลูกค้า
ความสำเร็จได้แก่การออกไปหาลูกค้าถึงที่ ไม่ใช่เพียงแต่อาศัยการเดินทางเท่านั้น แต่ยังทำได้โดยการเสนอบริการผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ข้อดีประการหนึ่งของระบบเศรษฐกิจใหม่ก็คือ สามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้นและฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น
พัฒนาประสิทธิภาพ
หากต้องการประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจใหม่ ท่านต้องสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและใช้ต้นทุนอย่างคุ้มค่าที่สุด มีการแข่งขันกันมากขึ้น ท่านจึงต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้ ด้วยการบริหารเงินสด และการลงทุน
ใฝ่หาเทคโนโลยี
หากท่านต้องการล้ำหน้าคู่แข่ง ก็ต้องลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ก้าวให้ทันตลาด
ไม่ต้องตกใจ หากกระแสความนิยมในตลาดเปลี่ยนไป เพียงแต่ต้องก้าวให้ทันด้วยการศึกษาทิศทางใหม่ ๆ การคาดการณ์เกี่ยวกับตลาดและแนวโน้มอุตสาหกรรม
สร้างวัฒนธรรมทางธุรกิจ
วิธีที่ดีที่สุดคือการศึกษาสภาพการแข่งขัน พัฒนาทักษะในการประกอบธุรกิจ และหาเครือข่ายสนับสนุน

ที่มา : สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ http://www.bangkokbank.com/Bangkok+Bank+Thai/Business+Banking/SMEs/Business+Centers/default.htm

เงินทุนสนับสนุนSME's

เงินทุนสนับสนุนSME's
สวัสดีครับทุกท่าน ธุรกิจSME's หรือ Small Median Enterprices ถือว่ามีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศเรา หลายคนมีแนวคิดดีๆเกี่ยวกับการริเริ่มธุรกิจของตนเอง แต่ก็เจอปัญหาใหญ่ที่สำคัญมากๆคือ เรื่องของเงินทุน จริงอยู่การเริ่มต้นธุรกิจSME's บางธุรกิจอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากมายอะไรนัก แต่หากผู้ประกอบการคนใดต้องการสร้างธุรกิจให้เติบโตและมั่นคงเพื่อให้สามารถสู้กับการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันได้ล่ะก็ ผมคิดว่าผู้ประกอบการท่านนั้นๆคงต้องมานั่งคิดพิจารณาอย่างจริงจังในเรื่องของเงินทุน ที่สอดคล้องกับลักษณะและขนาดของธุรกิจของตนเอง หรือพูดอีกนัยนึงคือต้องมีสายป่านทางการเงินยาวพอสมควรที่จะสามารก้าวผ่านวงจรชีวิตของธุรกิจในช่วงแรกเริ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่ยากที่สุดได้นั่นเอง
จากการที่เล็งเห็นปัญหาด้านเงินทุนของผู้ประกอบการธุรกิจSME's ทั้งรายเก่าและรายใหม่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)จึงมีโครงการสนับสนุนเงินทุนดังกล่าว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการดำเนินโครงการเงินทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SMEs ไทย หรือ Capacity Building Fund จะเป็นยังไงนั้นเราลองมาดูกันครับ
โดยหลักแล้ว โครงการนี้มุ่งที่จะเสริมสร้างผู้ประกอบการ SMEs ให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ให้สมกับบทบาทของธุรกิจ SMEs ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้การแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดของโลกยุคโลกาภิวัตน์ สภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีความ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา และเข้ามามีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โครงการ นี้จึงเป็นส่วนสนับสนุนการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ ธุรกิจ SMEs สามารถอยู่รอดได้สำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ SMEs แล้วนั้น โครงการนี้ยังส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ ในแง่ของการเสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารจัดการ การขยายตลาด และกระบวนการรักษาสิทธิ์ที่พึงได้รับจากทรัพย์สินทางปัญญาของ SMEs ผ่านการดำเนินการของระบบสนับสนุนด้วยเงินอุดหนุนแบบให้เปล่า (Grant) ที่ไม่ต้องชำระคืนสูงสุดถึง 500,000 บาทต่อราย

ระบบสนับสนุนที่ว่านี้ ประกอบด้วย ระบบสนับสนุนบริการที่ปรึกษา SMEs (Consultancy Fund) ระบบสนับสนุน SMEs เพื่อการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ (Internationalization Fund) และระบบสนับสนุน SMEs ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Fund)

ระบบสนับสนุนทั้ง 3 นี้จะมีลักษณะในการสนับสนุนที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ โดยระบบสนับสนุนบริการที่ปรึกษา SMEs หรือ Consultancy Fund จะเป็นเงินสนับสนุนในการจ้างที่ปรึกษาให้กับ SMEs เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจและการพัฒนาต่อยอด
ธุรกิจสินค้าหรือบริการ สูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท ซึ่ง SMEs กลุ่มเป้าหมายหลักของระบบนี้ คือ SMEs ที่ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เช่น มีปัญหาในด้านการบริหารจัดการ การตลาด การบัญชี การเงิน การลงทุน งานบุคคล การออกแบบผลิตภัณฑ์ ลอจิสติกส์ หรือด้านอื่นๆ และอีกกลุ่มหนึ่งคือ SMEs ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ เช่น การขยายตลาด การพัฒนาสินค้าหรือบริการ

ส่วน ระบบที่สองคือ ระบบสนับสนุน SMEs เพื่อการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ (Internationalization Fund) เป็นระบบสนับสนุนที่จะให้เงินอุดหนุนกับ SMEs ที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาทต่อราย โดยกลุ่มเป้าหมายของการสนับสนุนจะเป็น SMEs ที่ต้องการศึกษาและพัฒนาตลาดต่างประเทศ (Market Survey) หรือ SMEs ที่ต้องการประกอบธุรกิจการค้าหรือบริการส่งออกสู่ต่างประเทศ รวมถึง SMEs ที่ต้องการเข้าร่วมการจับคู่การค้า (Business Matching) กับพันธมิตร
ต่างประเทศ และ SMEs ที่ต้องการศึกษาและพัฒนาตลาดต่างประเทศ

ระบบ สุดท้าย คือ ระบบสนับสนุน SMEs ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Fund) เป็นระบบสนับสนุนที่จะให้เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายแก่ SMEs ในการนำผลงานไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การขออนุญาตใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา หรือใช้เป็นเงินสนับสนุนการซื้อทรัพย์สินทางปัญญาจากเจ้าของผลงานภายใน ประเทศ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย โดยกลุ่มเป้าหมายของการสนับสนุนจะเป็น SMEs ที่ต้องการนำผลงานไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทั้งภายในประเทศและต่าง ประเทศ หรือกลุ่ม SMEs ที่ต้องการขออนุญาตใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศ และกลุ่ม SMEs ที่ต้องการซื้อทรัพย์สินทางปัญญาจากเจ้าของผลงานภายในประเทศ

สิทธิ ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการเงินทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SMEs ไทย หรือ Capacity Building Fund คือ ผู้ได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าวจะเป็นเงินแบบให้เปล่า (Grant) ที่ไม่ต้องชำระคืน และสัดส่วนของการสนับสนุนสูงสุดที่ 50% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย นอกจากนี้ ยังรวมถึงสิทธิประโยชน์จากการบริการอื่นๆ จากหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการส่งออก กรมทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สถาบันการเงิน ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และศูนย์บริการ SMEs ในเครือข่ายของ สสว. ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค

คุณสมบัติเบื้องต้นในการขอรับการสนับสนุน จากระบบเหล่านี้ คือ ผู้ประกอบการที่ได้สมาชิกไว้กับ สสว. และเป็นนิติบุคคล สัญชาติไทย ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้กรอบของแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554)

หากท่านผู้ อ่านสนใจต้องการทราบเงื่อนไข หรือประสงค์จะเข้าร่วมรับการสนับสนุนจากโครงการนี้ สามารถขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมวิสหากิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เลขที่ 21 อาคาร ทีเอสที ทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร หรือที่เว็บไซต์ www.sme.go.th และ โทร. 0-2278-8800 ต่อ 400 หรือที่ สสว. Call Center 0-2686-9111

ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจาก "บิสิเนสไทย" โดยคุณ จิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ข้อมูลเพิ่มเติม www.sme.go.th ,http://www.businessthai.co.th