วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เิชิญผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานการจัดตั้ง "ชุมชนนักปฏิบัติ"

เิชิญผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานการจัดตั้ง "ชุมชนนักปฏิบัติ"

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร




ขอเชิญประชาชนและ ผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานการจัดตั้ง "ชุมชนนักปฏิบัติ" ชิงรางวัลชุมชนนักปฏิบัติดีเด่น ในโครงการศูนย์กลางความรู้แห่งชาติระยะที่ 5 ประจำปี 2552

- เปิดรับสมัครเข้าร่วมประกวดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2552

- ส่งผลงานประกวดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552


ชุมชนนักปฏิบัติ ดีเด่น
รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ

รางวัลชมเชย
รางวัลละ 5,000 บาท 2 รางวัล


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่



- คุณไฉน ผึ่งผาย โทรศัพท์ 0-2141-7038 โทรสาร 0-2143-0843 โทรศัพท์มือถือ 085-873-4899

- คุณปฐมพงษ์ ขาวจันทร์ โทรศัพท์ 0-2141-7037 โทรสาร 0-2143-0843 โทรศัพท์มือถือ 086-309-4351

- คุณธิดารัตน์ ศิริพรสุข โทรศัพท์ 0-2515-8343 ต่อ 2667 โทรสาร 0-2515-8342 โทรศัพท์มือถือ 087-814-0224

- เวปไซต์ www.tkc.go.th



สมัครการประกวดผลงาน “ชุมชนนักปฏิบัติ” ได้ที่ : http://www.tkc.go.th/webcontest.aspx

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความโลภ ความเข้าใจผิด และการมองโลกในแง่ดีเกินไป คือ สาเหตุวิกฤติการเงินโลก

ความโลภ ความเข้าใจผิด และการมองโลกในแง่ดีเกินไป คือ สาเหตุวิกฤติการเงินโลก

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าความโลภ ความเข้าใจระบบเศรษฐกิจที่ผิดพลาด และทัศนคติที่บิดเบือนความจริงมารวมอยู่ด้วยกันในหมู่ชนที่เป็นระดับหัวกะทิทางการเงินของโลก และผู้ที่มีผู้นำทางความคิดในโลกแห่งการเิงินและการลงทุน คำตอบคือ "วิกฤติเศรษฐกิจ" ที่หากเปรียบเป็นคลืื่่นในทะเลคงเป็นคลื่นที่ีขนาดใหญ่และรุนแรงยิ่งกว่าซึนามิ หลายร้อยหลายพันเท่า ในขณะที่ภัยธรรมชาติเรายังสามารถสังเกตุ คาดการณ์รูปแบบ และเวลาในการเกิดของมันเพื่อที่จะเตรียมรับมือกับมันได้ แต่คลื่นวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงยิ่งกว่าภัยธรรมชาติ ทำไมเราจึงไม่สามารถที่จะวางแผนรับมือได้มีประสิทธิภาพดังเช่นภัยธรรมชาติล่ะ?




วันนี้บังเอิญได้อ่นบทความชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจจากเวป สยามอินเทลิเจนท์ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่พวกเราที่ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เพื่อจะได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีทั้งด้านที่ดีและไม่ดีควบคู่กันไป ไม่เว้นแม้แต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่คนเกือบทั้งโลกต้องการ แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงไว้ด้วยคมดาบที่พร้อมจะฝากรอยแผลลึกไว้ได้ตลอดเวลา


ทำไมไม่มีใครเห็นวิกฤตเศรษฐกิจล่วงหน้า? นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษตอบคำถามพระราชินี

August 10, 2009

เมื่อ เดือนพฤศจิยายน 2008 หลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกก่อตัวขึ้นได้ไม่นาน สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่สองได้เสด็จเยือน London School of Economics มหาวิทยาลัยด้านเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก และได้ตรัสถามหมู่คณาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ระดับหัวกะทิที่มารับเสด็จว่า “ทำไมไม่มีใครมองเห็นวิกฤตเศรษฐกิจล่วงหน้า?”

คำถามนี้ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่ง นำโดย British Academy ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งชาติด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จึงจัดสัมมนาเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามของสมเด็จพระราชินีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2009 จากนั้นนำผลที่ได้จากการถกเถียง แลกเปลี่ยน เขียนสรุปเป็นจดหมายเพื่ออธิบายคำตอบแก่สมเด็จพระราชินี

ผู้ร่วมการเสวนาของ British Academy ได้แก่ Tim Besley ศาสตราจารย์ของ London School of Economics และหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายด้านการเงินของธนาคารแห่งอังกฤษ อาจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยลอนดอน รวมถึงมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ตัวแทนจากภาคธุรกิจและภาคธนาคาร รวมไปถึงภาครัฐบาลและสื่อมวลชนด้านธุรกิจการเงินจำนวนมาก

จดหมายมีเนื้อความดังนี้…

ถวายแด่สมเด็จพระราชินี
พระราชวังบั๊กกิงแฮม
ลอนดอน

มาดาม,

เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จเยือน London School of Economics ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พระองค์ได้ตรัสถามว่า “ทำไมไม่ใครสังเกตเห็นว่าเรากำลังจะเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ” ทางสถาบันจึงได้จัดเวทีเสวนาขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2009 เพื่อถกปัญหานี้ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเงิน เจ้าหน้าที่กำกับดูแล ภาควิชาการ และภาครัฐบาล จดหมายฉบับนี้เป็นการสรุปมุมมองและเหตุผลของผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งหมด และเราหวังว่าจดหมายฉบับนี้จะเป็นคำตอบให้กับคำถามของพระองค์ได้

มีคนจำนวนมากคาดเดาได้ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น อย่างไรก็ตามไม่มีใครเลยที่สามารถพยากรณ์รูปแบบ ระดับความรุนแรง และเวลาที่เกิดได้อย่างถูกต้อง สิ่งสำคัญในการพยากรณ์ลักษณะนี้ไม่ใช่แค่พยากรณ์รูปแบบของปัญหาได้อย่างถูก ต้องเท่านั้น แต่ต้องระบุเวลาที่มันจะเกิดขึ้น รวมไปถึงการจัดเตรียมเครื่องมือแก้ปัญหาให้กับเจ้าหน้าที่จากภาครัฐผู้มี อำนาจรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

ก่อนหน้านี้มีคนเตือนเรื่องความสมดุลย์ของตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจโลก มากมาย ตัวอย่างเช่น ธนาคาร Bank of International Settlements ออกมาแสดงความกังวลหลายครั้งว่าระดับความเสี่ยงที่นักการเงินพูดกันยังไม่ สะท้อนสภาพที่แท้จริงของตลาดการเงิน ส่วนธนาคารแห่งชาติอังกฤษของเราก็ได้ออกคำเตือนลักษณะเดียวกันหลายครั้งใน รายงานเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Reports) ซึ่งออกปีละ 2 ครั้ง ธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศซึ่งปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดยสาธารณชน มีชื่อเสียงด้านการจัดการความเสี่ยงเพราะจ้างผู้จัดการด้านความเสี่ยงถึง 4,000 คน แต่ปัญหาคือการมองภาพความเสี่ยงทางการเงินทั้งระบบนั้นยากกว่าความเสี่ยง เฉพาะการกู้เงินหรือความเสี่ยงของเครื่องมือทางการเงินอย่างใดอย่างหนึ่งมาก วิธีการคำนวณความเสี่ยงในปัจจุบันมักสนใจเฉพาะกิจกรรมทางการเงินเฉพาะอย่าง ถึงแม้ว่าผู้คำนวณความเสี่ยงจะเป็นนักคณิตศาสตร์ชั้นเลิศจากทั้งในและต่าง ประเทศก็ตาม แต่พวกเขามักจะมองปัญหาในภาพใหญ่ไม่เห็น

มีคนอีกเป็นจำนวนมากเช่นกันที่เคยแสดงความเป็นห่วงในความไร้เสถียรภาพของ ระบบเศรษฐกิจโลก เราผ่านช่วงเวลารุ่งเรืองของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งช่วยให้ประชากรในประเทศที่ยากจน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ลืมตาอ้าปากและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจรอบที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดสภาพ “มีเงินออมมากเกินไปทั่วโลก” ซึ่งเป็นสาเหตุให้การลงทุนระยะยาวที่มีความเสี่ยงต่ำได้รับผลตอบแทนน้อยมาก นักลงทุนจึงหันไปลงทุนในกิจการที่มีผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ประเทศอย่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้ประเทศจากการเติบโตของจีน ทำให้สินค้าราคาถูกลง เมื่อผนวกกับการที่ภาคประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบการ เงินได้ง่าย ทำให้ราคาบ้านทั้งในสหราชอาณาจักรและสหรัฐพุ่งสูงขึ้นมาก แน่นอนว่ามีคนจำนวนมากเตือนให้เห็นอันตรายเหล่านี้

แต่ถึงแม้ว่าจะได้ยินเสียงเตือนจำนวนไม่น้อย คนส่วนใหญ่ยังมั่นใจว่าภาคธนาคารรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ พวกเขาเชื่อว่าพ่อมดทางการเงินทั้งหลายจะค้นพบวิธีการจัดการความเสี่ยงแบบ ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม แต่ในความเป็นจริงนักการเงินเหล่านี้กระจายความเสี่ยงแฝงลงในเครืองมือทาง การเงินหลายประเภทต่างหาก แล้วทำเป็นเหมือนว่าความเสี่ยงถูกขจัดไปจนหมดแล้ว ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์แทบไม่มีใครเคยซ่อนความละโมภไว้ใต้วิธีคิดเชิงบวก ได้ดีขนาดนี้มาก่อน ทุกคนคิดว่าตลาดการเงินเปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีความเสี่ยงแบบเดิมๆ อีกแล้ว นักการเมืองทุกคนชื่นชอบภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต เมื่อความคิดเหล่านี้ถูกสนับสนุนโดยโมเดลทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ที่ พยากรณ์ความเสี่ยงขนาดเล็กในระยะสั้นได้ดี ยิ่งทำให้คนจำนวนมากเชื่อว่าเป็นความคิดที่ถูกต้องเข้าไปใหญ่ ในขณะที่มีคนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่บอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าระบบ เศรษฐกิจมีปัญหา คนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในธนาคารซึ่งรวมเอาคณะกรรมการและผู้บริหารที่ชาญฉลาด จากทุกมุมโลก รวมถึงที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ไม่มีใครคิดว่านายธนาคารเหล่านี้จะตัดสินใจผิดพลาดหรือพวกเขาจะไม่สามารถ จัดการความเสี่ยงขององค์กรตัวเองได้ นายธนาคารและนักการเงินรุ่นนี้หลอกตัวเองและหลอกคนที่เชื่อมั่นว่าพวกเขาคือ วิศวกรที่เก่งกาจ ผู้เชี่ยวชาญในเศรษฐกิจขั้นสูงอันซับซ้อน

มุมมองในแง่ดีเหล่านี้เป็นสาเหตุว่าทำไมตลาดถึงพัฒนาวิธีการจัดการความ เสี่ยงที่เหมาะสมได้ช้านัก ภาคประชาชนได้ประโยชน์จากอัตราการว่างงานที่ต่ำ ราคาสินค้าที่ถูก และเครดิตเงินกู้ที่ได้มาโดยง่าย ภาคธุรกิจได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ ภาครัฐบาลได้ประโยชน์จากภาษีที่เก็บได้มาก ซึ่งทำให้รัฐบาลลงทุนในภาคการศึกษาและสาธารณสุขมากขึ้นตามไปด้วย การที่ทุกคนได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต ทำให้เกิดภาวะทางจิตวิทยาที่ปฏิเสธความจริง วัฎจักรนี้เกิดขึ้นจากการหลอกตัวเอง

แม้ว่าภาครัฐมีหน้าที่กำกับดูแลความเสี่ยงเหล่านี้อยู่แล้ว แต่พวกเขาก็ทำงานได้ยาก มีบางคนพูดว่าหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กำกับความเสี่ยงเหล่านี้เปรียบได้กับ “เอาเหล้าออกจากงานปาร์ตี้ที่กำลังเฮฮาได้ที่” แต่นั่นคือพวกเขาต้องมีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมด้วย การกำกับดูแลด้านนโยบายของเขต City of London และ Financial Services Authority ได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศอยู่แล้ว

คนจำนวนมากเชื่อว่าการรอให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดหุ้นและอหังสาริม ทรัพย์ก่อนแล้วค่อยแก้ไขนั้นดีกว่าการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ล่วงหน้า โดยเฉพาะในสหรัฐที่ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจมาได้หลังฟองสบู่ดอตคอมแตกในปี 2001 ปรากฎการณ์ในช่วงนั้นยิ่งช่วยสนับสนุนให้เราเชื่อว่าเราสามารถแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังคงต่ำมานาน ทำให้ไม่มีสัญญาณบอกว่าระบบเศรษฐกิจกำลังจะมีปัญหา การคุมดอกเบี้ยให้ต่ำและมีเสถียรภาพอย่างยาวนานเป็นผลงานของคณะกรรมการ นโยบายทางการเงินของธนาคารแห่งอังกฤษ แต่อัตราดอกเบี้ยนี้ต่ำเป็นประวัติการณ์ บางคนมองว่านโยบายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงทางการเงิน ได้ บางประเทศทดลองเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาซึ่งก็ไม่เกิดผลอันใด ในภาพรวมแล้ว คนส่วนมากเชื่อว่านโยบายทางการเงินควรใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเงิน เฟ้อเท่านั้น ไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาความไร้เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจได้

สรุปว่าปัญหาอยู่ที่ไหน? ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ซึ่งจากการวัดผลที่ผ่านมาทุกคนก็มักทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีมาตลอดอยู่แล้ว ปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากการสะสมตัวของความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ เชื่อมโยงกันเป็นภาพกว้าง ซึ่งไม่อยู่ใต้ความรับผิดชอบขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เมื่อผนวกกับจิตวิทยาความเชื่อของหมู่คณะ และความศรัทธาในพ่อมดทางการเงินทั้งหลาย จึงเกิดเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของวิกฤต ผู้รับผิดชอบแต่ละคนอาจมองว่าความเสี่ยงในส่วนของตัวเองนั้นมีขนาดเล็กๆ ซึ่งก็เป็นมุมมองที่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้วความเสี่ยงของทั้งระบบนั้นใหญ่โตมโหฬาร

คำถามของพระองค์คือทำไมไม่มีใครมองเห็นรูปแบบ ช่วงเวลา และระดับความรุนแรงของวิกฤตเศรษฐกิจล่วงหน้า คำตอบแบบสรุปนั้นเกิดจากนักการเงินที่ชาญฉลาดทั่วโลกต่างเข้าใจความเสี่ยง ของเศรษฐกิจทั้งระบบผิดพลาด และมุมมองที่ผิดพลาดของแต่ละคนก็สะสมกันจนกลายเป็นทัศนคติที่ผิดพลาดในภาพ รวม

เราถือว่าคำถามของพระองค์เรื่องการพยากรณ์ที่ผิดพลาดเป็นหัวใจสำคัญของ การแก้ปัญหา ทาง British Academy จึงเสนอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงธุรกิจ นวัตกรรมและทักษะแรงงาน รวมถึงธนาคารแห่งอังกฤษและคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการเงิน ร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันขึ้นมาใหม่เพื่อไม่ให้พระองค์ ต้องถามคำถามนี้อีกในอนาคต ทาง British Academy จะจัดสัมมนาเรื่องนี้อีกครั้งในกลุ่มคนที่กว้างขึ้น เราจะรายงานผลที่ได้ให้พระองค์ทรงทราบ ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปีที่แล้วช่วยให้พวกเราตื่นจากฝัน สุดท้ายแล้วมันจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ขึ้นกับพวกเราว่านำมันมาใช้เป็นบทเรียนเพื่ออนาคตได้มากเพียงไหน

ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับใช้พระองค์

ศาสตราจารย์ Tim Besley
ศาสตราจารย์ Peter Hennessy


ที่มา : http://www.siamintelligence.com/

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฤา โลกจะพ้นวิกฤติเศรษฐกิจแล้วจริงๆ

ฤา โลกจะพ้นวิกฤติเศรษฐกิจแล้วจริงๆ
"พอล ครุกแมน"ชี้โลกพ้นมหาวิกฤตศก.แล้ว แต่อีก2ปีจึงจะฟื้น




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 10 ส.ค.นายพอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์โลก และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ กล่าวระหว่างการประชุมธุรกิจระหว่างประเทศที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่า ชี้ว่า โลกอาจจะพ้นมหาวิกฤตทางเศรษฐกิจภาคสองแล้ว แต่ก็จะต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนญี่ปุ่นที่เผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงปี 1990 โดยโลกอาจจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวจากเศรษฐกิจเป็นเวลา 2 ปีหรือมากกว่านั้น เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ยังกล่าวว่า โลกจะต้องฟื้นตัวได้จากการส่งออก จากการขายสินค้าให้แก่ประเทศที่มีอำนาจบริโภคขนาดใหญ่ โดยเอเชียน่าจะมีโอกาสเศรษฐกิจพยุงตัวได้เร็วกว่าภูมิภาคอื่น เหนือสหรัฐและยุโรป บางส่วนจากการฟื้นตัวในภาคการผลิตการส่งออก แต่ขณะนี้เขาคิดว่า โลกยังคงจะต้องแก้ปัญหาการใช้จ่ายของผู้บริโภค,การลงทุนจากธุรกิจ,และภาวะเติบโตด้านอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย ซึ่งขณะนี้ยังไม่น่าจะฟื้นตัวได้ นอกจากนี้ นายครุกแมน ยังได้เรียกร้องให้โลกปรับโครงสร้างการเงินเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกซ้ำรอยด้วย โดย มติชน

ที่มา : ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บางคน...

สวัสดีครับพี่น้องชาว MBE#8 ทุกท่าน
วันนี้ขอเขียนอะไรที่มันไร้สาระ(ที่จริงก็ทุกครั้ง 55) สบายๆ ถึงพี่น้องของพวกเราหลายๆท่าน รวมทั้งตัวผมเองด้วยนะครับ




ในที่สุดพวกเราก็สอบเสร็จกันซะที เชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงกำลังทำในสิ่งที่อยากทำ หรือกำลังไปที่ชอบๆ กันอยู่แน่ๆ(เที่ยว 55+) บางคนลาพัก 3 วันติดกัน (กลับไปโดนไล่ออกไม่รู้ด้วยนะ) บางคนชวนกันไปนั่งกินเบียร์ร้านเดิม(กะว่าจะไม่เหลือให้ใครกินเลยรึไงวะ) บางคนนอน บางคนนั่ง บางคนกำลังเครียดว่าจะทำไงดีกับ IS หรือ Thesis บางคนใกล้จบแล้ว บางคนเพิ่งเริ่มต้น บางคนกำลังมัวเพลินกับอะไรบางอย่าง บางคนเบื่อ บางคนเซ็ง บางคนเหงา(ใครวะ?)บางคนกำลังคิดที่จะทำ บางคนกำลังลงมือทำ แต่บางคนดันหยุดทำและถอดใจไปซะก่อน

เอาล่ะครับไม่ว่าพี่น้องท่านใดกำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม ผมเป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ และหากมีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้ขอให้บอกครับ ไม่ช่วยหรอก 55+ ล้อเล่นครับ เต็มที่แน่นอนครับ เอาล่ะ..โชคดีครับ