วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

ทบทวนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล"โอบามาร์ค"กันหน่อย

ทบทวนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล"โอบามาร์ค"กันหน่อย
ช่วงนี้หลายท่านคงจะติดตามข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศราฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มี "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวที่กำลังเป็นที่วิจารย์กันมากที่สุดคงหนีไม่พ้น มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,999 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียว ว่าจะสามารถช่่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าเป็นไปตามสมการในทางเศรษฐศาสตร์แล้วที่บอกว่า GDPหรือY = C+I+G (สมมุติว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบปิดเพราะว่าเราจะดูผลระยะสั้นจากมาตรการดังกล่าว)ก็ต้องบอกว่าน่าจะช่วยได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ(ตัว G) เพื่อหวังผลต่อเนื่องไปยังการใช้จ่ายของภาคประชาชน(ตัว C) และเมื่อมีการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ก็ย่อมต้องเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP/Y)ได้ เนื่องจากซึ่งเป็นไปตามกฎของ "Golden Rule" แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากต้องดูความสามารถในกาใช้จ่ายทั้งของรับาลเองและของประชาชนด้วย

จากแผนบริหารราชการแผ่นดินระยะเวลา 3 ปี (ปี"52-"54) ที่ครม.เห็นชอบแล้ว ประมาณความต้องการใช้เงินตามนโยบายของรัฐบาลรวม 3 ปี มีวงเงินทั้งสิ้น 7.44 ล้านล้านบาท แต่มีรายได้รัฐบาล 3 ปีเพียง 5.24 ล้านล้านบาท

ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณรวม 3 ปีเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ทีนี้เราลองมาทบทวนโครงการต่างๆของรัฐบาลกันอีกครั้งนะครับว่ามีอะไรบ้าง




มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 18 โครงการ สำหรับงบประมาณกลางปี 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งจะนำเข้ารัฐสภาวันที่ 28 ม.ค. มีดังนี้

1.โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,999 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียว โอนเงินเข้าบัญชีให้ประมาณเดือนเม.ย.

2.โครงการช่วยเหลือคนตกงาน จัดอบรมผู้ว่างงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ 6 เดือน ขณะอบรมได้เงินช่วยเหลือยังชีพเดือนละ 5,000 บาท วงเงิน 6,900 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ว่างงาน 240,000 คน ก่อนขยายเพิ่มในงบประมาณปี"53 ให้ครบ 500,000 คน

3.โครงการเรียนฟรีจริง 15 ปี ตั้งแต่อนุบาลถึงม.6 ฟรีค่าเทอม เสื้อผ้า ตำราเรียน และอุปกรณ์การศึกษา งบประมาณ 19,000 ล้านบาท

4.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สานต่อกองทุนเอสเอ็มแอล เพื่อสร้างงานและวางรากฐานในชนบท

5.โครงการต่ออายุ 5 มาตรการ 6 เดือน ทั้งน้ำ-ไฟ-รถเมล์-รถไฟ อีก 6 เดือน แต่ปรับลดการใช้นำประปาฟรี เหลือเดือนละ 30 ลบ.ม. และใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกินเดือนละ 90 หน่วย งบประมาณ 11,409.2 ล้านบาท

6.โครงการช่วยเหลือเงินยังชีพคนชรา อายุเกิน 60 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ คนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 ล้านคน รวมเป็นทั้งระบบช่วยเหลือ 5 ล้านคน งบประมาณ 9,000 ล้านบาท

7.โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คนละ 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 834,075 คน งบประมาณ 3,000 ล้านบาท

8.โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2,000 ล้านบาท

9.โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางทางในชนบท ระยะทาง 490 กิโลเมตร 1,500 ล้านบาท

10.โครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนรายได้น้อย งบประมาณ 1,000 ล้านบาท

11.โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบท งบประมาณ 1,095.8 ล้านบาท

12.โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 แห่ง แห่งละ 3.4 ล้านบาท วงเงิน 1,808.8 ล้านบาท

13.โครงการลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศ สนับสนุนส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท

14.โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อม (เอสเอ็มอี) 500 ล้านบาท

15.โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อให้ความมั่นใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 325 ล้านบาท

16.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขุดลอกคูคลอง 760 ล้านบาท

17.เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391.3 ล้านบาท

18.รายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่เมื่อจ่ายเงินคงคลังไปก่อนจะต้องตั้งงบชดเชยคืน

ข้อมูลบางส่วนโดย หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์

2 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น