วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

SMEs คืออะไร

SMEs คืออะไร

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ และคุ้นเคยกันดีในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมาเนื่องจากจำนวนของ ธุรกิจSMEs นั้นเมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ๆของไทย เช่น ปตท. ปูนซีเมนต์ การสื่อสาร เป็นต้น ธุรกิจSMEs จจะมีจำนวนมากกว่าแน่นอนเนื่องจากขนาดของการลงทุน และลักษณะรูปแบบการประกอบกิจการ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าธุรกิจSMEs จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญอย่างแท้จริงมากกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่รัฐบาลทุกชุดที่เข้ามาบริหารประเทศจะให้ความสำคัญกับธุรกิจSMEs เป็นอันดับต้นๆ และอยู่ในนโยบายการบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจของทุกพรรคการเมืองเลยทีเดียว
เราลองมาดูกันนะครับว่า ความหมาย และลักษณะของธุรกิจSMEs นั้นเป็นยังไงบ้าง

SMEs ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises หรือแปลไทยว่า วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม สำหรับความหมายของวิสาหกิจ ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. กิจการการผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่(Mining)
2. กิจการการค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3. กิจการบริการ (Service Sector)
ลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากมูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สำหรับกิจการแต่ละประเภท ดังนี้
ขนาดกลาง ขนาดย่อม
1. กิจการการผลิต ไม่เกิน 200 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท
2. กิจการบริการ ไม่เกิน 200 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท
3. กิจการการค้า
- ค้าส่ง ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- ค้าปลีก ไม่เกิน 60 ล้านบาท ไม่เกิน 30 ล้านบาท
ส่วนลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากจำนวนการจ้างงาน สำหรับกิจการ แต่ละประเภท ดังนี้
ขนาดกลาง ขนาดย่อม
1. กิจการการผลิต ไม่เกิน 200 คน ไม่เกิน 50 คน
2. กิจการบริการ ไม่เกิน 200 คน ไม่เกิน 50 คน
3. กิจการการค้า
- ค้าส่ง ไม่เกิน 50 คน ไม่เกิน 25 คน
- ค้าปลีก ไม่เกิน 30 คน ไม่เกิน 15 คน

หมายเหตุ : ทั้งนี้ หากจำนวนการจ้างงานของกิจการใดเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อม แต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลาง หรือจำนวนการจ้างงานเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลาง แต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อม ให้ถือจำนวนการจ้างงานหรือมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์ในการ พิจารณา
1. หลักเกณฑ์การพิจารณาจำนวนการจ้างงาน ให้พิจารณาจากหลักฐานแสดงจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด
2. หลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าสินทรัพย์ถาวร พิจารณาจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิซึ่งไม่รวมที่ดินตาม ที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดของกิจการที่ได้จัดทำขึ้นโดยผู้ทำบัญชีของผู้มี หน้าที่จัดทำบัญชี หรือได้รับการตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วตาม กฎหมายว่าด้วยการบัญชี มูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิซึ่งไม่รวมที่ดิน ตามที่ได้รับการประเมินจากสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่ น่าเชื่อถือ ในกรณีที่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิดังกล่าวต่างกัน ให้ถือจำนวนที่น้อยกว่าเป็นมูลค่าสินทรัพย์ถาวร
ที่มา : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php?view=first.First

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น